วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552

บทคัดย่อ สำรวจการเกิดอาการเนื้อแก้วและยางไหลของผลมังคุดและพัฒนาวิธีการแก้ปัญหา

สำรวจการเกิดอาการเนื้อแก้วและยางไหลของผลมังคุดและพัฒนาวิธีการแก้ปัญหา
Survey of Flesh translucent Disorder in Mangosteen (Garcinia mangostana L.) and Development for Decrease Problem Practice

ชมภู จันที 1/ ศิริพร วรกุลดำรงชัย1/ อัจฉรา ศรีทองคำ1/ อัมพิกา ปุนนจิต2/
Chompoo. Jantee1/, Siriporn Vorakuldamrongchai1/ Ouchara Srithongkum1/ and Umpika Poonnachit2/

Abstract
Form surveys were conducted in 118 mangosteen orchards in 3 provinces (Rayong, Chanthaburi and Trad) of the major production area in eastern region of Thailand, during 2003-2005. The objectives were to investigate the factors affecting the occurrence and severity of flesh translucent and latex exudation, in order to develop and test the integrated management to reduce these disorders. The disorders were found in all production areas and ranged from 21.76 to 48.43% of total yield. The occurrence and severity of the disorder varied with the amount of rainfall during fruit development, soil type and orchard management. The symptom were more severe under the situation of long and continuously heavy rainfall in the orchards with poor drainage soil. The flesh translucent and latex exudation varied from 5.00 – 88.33% among soil types. Application of foliar fertilizer together with soil fertilization that contains calcium, at the appropriate developmental period was able to decrease those disorders 15.01% of total yield. The integrated orchard management by irrigation regularly during fruit development, foliar and soil fertilizer application containing Ca, well drainage after heavy rainfall and open canopy pruning to allow good aeration can reduce the symptom.

บทคัดย่อ
โครงการสำรวจการเกิดอาการเนื้อแก้วและยางไหลของผลมังคุดและพัฒนาวิธีการแก้ปัญหา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและสำรวจการเกิดอาการเนื้อแก้วและยางไหลและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งพัฒนาและทดสอบวิธีการผสมผสานในการแก้ปัญหาเนื้อแก้วและยางไหล ดำเนินการระหว่างปี 2546 – 2548 จากการสำรวจการเกิดอาการเนื้อแก้วและยางไหลในมังคุดภาคตะวันออก (ระยอง, จันทบุรี และตราด) จำนวน 118 สวน พบการเกิดอาการเนื้อแก้วและยางไหลในทุกแหล่งปลูก มีเปอร์เซ็นต์การเกิดอาการเนื้อแก้วและยางไหลรวมระหว่าง 21.76-48.43% ของผลผลิตทั้งหมด ซึ่งการเกิดและความรุนแรงของอาการเนื้อแก้วและยางไหลมากน้อยแตกต่างกันไปตามปริมาณน้ำฝนที่ได้รับ สภาพดินและการจัดการสวน พบว่าในช่วงที่มีฝนตกหนักติดต่อกันเป็นเวลานาน ความรุนแรงและเปอร์เซ็นต์การเกิดอาการเนื้อแก้วและยางไหลจะมากกว่าในช่วงฤดูแล้ง และในช่วงที่ฝนตกมาก กลุ่มชุดดินที่มีโครงสร้างดินดีและการระบายน้ำดี จะพบอาการเนื้อแก้วและยางไหลน้อยกว่ากลุ่มชุดดินที่มีการระบายน้ำเลว โดยมีเปอร์เซ็นต์การเกิดอาการเนื้อแก้วและยางไหลในแต่ละชุดดินอยู่ระหว่าง 5.00-88.33% ของผลผลิตทั้งหมด และจากการพัฒนาและทดสอบวิธีการผสมผสานในการแก้ปัญหาเนื้อแก้วและยางไหล พบว่า การฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ และการใส่ปุ๋ยทางดินที่มีแคลเซียมในช่วงที่เหมาะสมให้กับมังคุดสามารถลดการเกิดอาการเนื้อแก้วและยางไหลได้ 15.01% ของผลผลิตทั้งหมด ซึ่งการจัดการสวนมังคุดควรทำอย่างผสมผสาน โดยควบคุมการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอในช่วงพัฒนาการของผล ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ และใส่ปุ๋ยทางดินที่มีธาตุแคลเซียม จัดการระบายน้ำออกจากแปลงมังคุดให้เร็วในช่วงฝนตกหนัก และตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่งถ่ายเทอากาศได้ดี จะสามารถช่วยลดการเกิดอาการเนื้อแก้วและยางไหลได้

1/ ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ต.ตะปอน อ.ขลุง จ.จันทบุรี 22110
1/ Chanthaburi Horticultural Research Center (CHRC), Khlung, Chanthaburi , 22110
2/ คณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก
2/ Mission of Thailand to the WTO

1 ความคิดเห็น:

  1. สวัสดีครับ พี่ๆ ตอนนี้ทำเรื่องเนื้อแก้วกับยางไหลไปถึงไหนแล้วครับ

    ผมว่าน่าจะเกี่ยวกับ การเปลี่ยนแปลงอย่างกระทันหันของสภาวะน้ำ
    ในเนื้อมังคุดและท่อน้ำยางน๊ะครับ

    และอีกปัจจัย คงจะเป็นความแข็งแรงของโครงสร้างพื้นฐานของเซลล์เนื้อมังคุดและเซลล์ท่อน้ำยาง

    krissdapon@hotmail.com

    ตอบลบ