วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2552
อัตราค่าบริการท่องเที่ยว
วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
บทคัดย่อ การจัดการธาตุอาหารทางดินลองกองแบบผสมผสานเพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมีในภาคตะวันออก
(Aglaia dookkoo Griff.) in Eastern Region.
ศิริพร วรกุลดำรงชัย1/ ประพิศ แสงทอง2/ ภาวนา ลิกขนานนท์2/
Vorakuldamrongchai.S.1/., P. Saengthong2/ and P. Ligkananont2/
The integrated soil fertilizer management was conducted on 15 year-old longkong (Aglaia dookkoo Griff.) in Trad province, Eastern region of Thailand, in order to find an appropriate combination of chemical and organic fertilizer in order to reduce the amount of chemical fertilizer. It was a three-year experiment (2006-2008), using RCB with 10 treatments and 8 replications. Treatment 1 was 100% chemical fertilizer 15-15-15. The amount of cow manure or organic compost from durian (2.5-2.5-2.5) were varied (in the ratio of 25,50 and 100%) in Treatment 2-7 in combination with chemical fertilizer and Phosphate solubilizing microorganisms were added in treatment 8-10. There were no significant difference among treatments using integrated organic fertilizer and chemical fertilizer on plant health, floral number, fruit number and yield. The amount of leaf chemical elements of all treatments were within the standard range, except Mg and Fe which were lower than standard. Applying organic fertilizer alone or integrated with chemical fertilizer increased cost of production between 37.95-184.80 baht/tree, depending on the amount of organic fertilizer in each treatment. Nevertheless, it helped reduce the use of chemical fertilizer at least 25% while maintained yield and quality of longkong, improved soil structure and increased soil-microbial activities.
Key words: Longkong (Aglaia dookkoo Griff.), Reduce Fertilizer, Integrated Nutrient Management
บทคัดย่อ
คำสำคัญ : ลองกอง, การจัดการธาตุอาหารแบบผสมผสาน, การลดการใช้ปุ๋ยเคมี
1/ ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ต.ตะปอน อ.ขลุง จ.จันทบุรี 22110
1/ Chanthaburi Horticultural Research Center, Khlung, Chanthaburi , 22110
2/ กลุ่มปฐพีวิทยา สำนักวิจัยและพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
2/ Agricultural Production Sciences Research and Development Office, Chatuchak, Bangkok , 10900
บทคัดย่อ สำรวจการเกิดอาการเนื้อแก้วและยางไหลของผลมังคุดและพัฒนาวิธีการแก้ปัญหา
Survey of Flesh translucent Disorder in Mangosteen (Garcinia mangostana L.) and Development for Decrease Problem Practice
ชมภู จันที 1/ ศิริพร วรกุลดำรงชัย1/ อัจฉรา ศรีทองคำ1/ อัมพิกา ปุนนจิต2/
Chompoo. Jantee1/, Siriporn Vorakuldamrongchai1/ Ouchara Srithongkum1/ and Umpika Poonnachit2/
Abstract
บทคัดย่อ
1/ ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ต.ตะปอน อ.ขลุง จ.จันทบุรี 22110
1/ Chanthaburi Horticultural Research Center (CHRC), Khlung, Chanthaburi , 22110
2/ คณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก
2/ Mission of Thailand to the WTO
บทคัดย่อ วัสดุปลูกสำหรับการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองปราจีน
วัสดุปลูกสำหรับการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองปราจีน
Growing Media for Lady Slipper (Paphiopedilum concolor) Production.
ชมภู จันที 1/ ศิริพร วรกุลดำรงชัย1/ อภิรดี กอร์ปไพบูลย์1/ อัจฉรา ศรีทองคำ1/
Chompoo. Jantee1/, Siriporn Vorakuldamrongchai1/ Opiradee Korpphaiboon 1/ Ouchara Srithongkum1/
Abstract
The study of growing media for lady slipper (Paphiopedilum concolor) production aimed to determine suitable growing media. The study was conducted in 80 % green cloth shade house at Chanthaburi Horticultural Research Center between October 2004 and September 2007. Lady Slipper growing on 6 kings of growing media is the mixture of pumice, composted rain tree leaves, coconut husk and charcoal at 1:2:0.5:1, red brick made from clay, composted rain tree leaves, coconut husk and charcoal at 1:2:0.5:1, red brick made from clay composted groundnut husk, sand and charcoal at 1:1:0.5:1, small rock, composted, loam, sand and groundnut husk at 1:1:0.5:1, coconut shell, composted leaves, foam pieces and charcoal at 1:1:0.5:1, red brick made from clay composted foam pieces : charcoal and small rock at 1:0.5:1:1. Results showed that lady slipper could grow well in the mixture of red brick made from clay, composted rain tree leaves, coconut husk and charcoal at 1:2:0.5:1 and did not show any difference from the mixture of pumice, composted rain tree leaves, coconut husk and charcoal at 1:2:0.5:1 the media used for commercial grown . The replacement of red brick made from clay to pumice could reduce media cost from 5.25 to 2.41 Bath par pot and easily fewed in the eastern Thailand. It may suggested that the materials used for growing media of lady slipper should help drainage and ventilation, well keeping moisture longer used, free of diseases and non – toxic to the plants. Moreover, They should be found easily and inexpensive.
บทคัดย่อ
การศึกษาวัสดุปลูกสำหรับการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองปราจีน มีวัตถุประสงค์เพื่อหาชนิดของวัสดุปลูกที่เหมาะสมในการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้รองเท้านารี ดำเนินการทดลองที่ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ระหว่างเดือนตุลาคม 2547 – กันยายน 2550 โดยทดลองปลูกกล้วยไม้รองเท้านารีในวัสดุปลูก 6 ชนิด ได้แก่ หินภูเขาไฟ:ใบก้ามปูหมัก:เปลือกมะพร้าวสับ:ถ่าน อัตราส่วน 1:2:0.5:1, อิฐแดงทุบ:ใบก้ามปูหมัก:เปลือกมะพร้าวสับ:ถ่าน อัตราส่วน 1:2:0.5:1, อิฐแดงทุบ:เปลือกถั่วลิสง:ทรายหยาบ:ถ่าน อัตราส่วน 1:1:0.5:1, หินเกร็ด:ดินร่วน:ทรายหยาบ:เปลือกถั่วลิสง อัตราส่วน 1:1:0.5:1, กะลามะพร้าว:ใบไม้ผุ:โฟมหัก:ถ่าน อัตราส่วน 1:1:0.5:1 และอิฐแดงทุบ:โฟมหัก:ถ่าน:หินเกร็ด อัตราส่วน 1:0.5:1:1 พบว่าวัสดุปลูกที่มีส่วนผสมของอิฐแดงทุบ : ใบก้ามปูหมัก : เปลือกมะพร้าวสับ : ถ่าน อัตราส่วน 1:2:0.5:1 เป็นวัสดุปลูกที่ทำให้รองเท้านารีมีการเจริญเติบโตดี สมบูรณ์ แข็งแรงและมีการออกดอกสวยงามมีความสมบูรณ์ต้นเฉลี่ย 72.98% ไม่ต่างจากวัสดุปลูกที่นิยมใช้เป็นการค้าในปัจจุบันที่มีส่วนผสมของหินภูเขาไฟ : ใบก้ามปูหมัก : เปลือกมะพร้าวสับ : ถ่าน อัตราส่วน 1:2:0.5:1 มีความสมบูรณ์ต้น 73.06% และยังมีราคาต้นทุนของวัสดุปลูกที่ต่ำกว่ามีต้นทุน 2.41 บาท/กระถาง และหาซื้อง่ายในท้องถิ่น นอกจากนี้วัสดุปลูกที่สามารถเลือกใช้ในการปลูกรองเท้านารีและหาซื้อง่ายในท้องถิ่น ได้แก่ วัสดุปลูกที่มีส่วนผสมของอิฐแดงทุบ : เปลือกถั่วลิสง : ทรายหยาบ : ถ่าน, หินเกล็ด : ดินร่วน : ทรายหยาบ : เปลือกถั่วลิสง, กะลามะพร้าว : ใบไม้ผุ : โฟมหัก : ถ่าน อัตรา 1:1:0.5:1 ทำให้รองเท้านารีมีความสมบูรณ์ต้นระหว่าง 71.52-73.95% ซึ่งการที่จะเลือกใช้วัสดุปลูกชนิดใดนั้นควรคำนึงถึงคุณสมบัติของวัสดุปลูกควรมีคุณสมบัติในการช่วยระบายน้ำและอากาศได้ดี เก็บความชื้นได้ดี อายุการใช้งานนาน ไม่จำเป็นต้องมีแร่ธาตุที่จำเป็นต่อพืช ไม่เป็นแหล่งสะสมโรคและคราบเกลือ หรือปลดปล่อยสารพิษให้กับราก ควรเป็นวัสดุที่หาง่ายและราคาถูก
1/ ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ต.ตะปอน อ.ขลุง จ.จันทบุรี 22110
1/ Chanthaburi Horticultural Research Center (CHRC), Khlung, Chanthaburi , 22110
วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2552
กำหนดการอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการชุมชนต้นแบบมังคุด จังหวัดจันทบุรี
อบรมเชิงปฏิบัติการโครงการชุมชนต้นแบบมังคุด จังหวัดจันทบุรี
“กระบวนการเตรียมความพร้อมต้นมังคุดที่มีประสิทธิภาพ”
วันที่ 6-7 สิงหาคม 2552
ณ อาคารฝึกอบรม ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี
6 สิงหาคม 2552
08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 – 09.15 น. พิธีเปิด
โดย นางพิศวาส บัวรา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพืชสวน
09.15 – 10.30 น. ความต้องการน้ำของต้นมังคุด และการปรับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดย นายธีรวุฒิ ชุตินันทกุล นักวิชาการเกษตร ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี
10.30 – 10.45 น. พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม
10.45 – 12.00 น. การออกแบบและติดตั้งระบบน้ำชลประทาน
โดย นายนาวี จิระชีวี วิศวกรการเกษตร สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม
12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 15.00 น. การตัดแต่งกิ่งมังคุด
โดย นายธีรวุฒิ ชุตินันทกุล และทีมงาน ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี
15.00 – 15.30 น. พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม
15.30 – 17.30 น. ฝึกปฏิบัติ
7 สิงหาคม 2552
09.00 – 12.00 น. การจัดการดินและธาตุอาหารไม้ผล
โดย ดร.นันทรัตน์ ศุภกำเนิด สถาบันวิจัยพืชสวน
12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 16.00 น. ฝึกปฏิบัติ และดูงานภาคสนาม (อาหารว่างและเครื่องดื่ม)
16.00 – 16.30 น. สรุปประเมินผล
โครงการชุมชนต้นแบบการผลิตมังคุดคุณภาพจังหวัดจันทบุรี
จังหวัดจันทบุรีได้ชื่อว่าเป็นจังหวัดที่มีการผลิตมังคุดออกสู่ตลาดมากที่สุดของประเทศ เนื่องจากเกษตรกรชาวสวนมังคุดของจังหวัดจันทบุรี มีการปรับตัวและพัฒนากระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมี มีการนำมาใช้ในกระบวนการผลิตมาก ซึ่งมีส่วนสำคัญทำให้ผลผลิตของมังคุดสูงมากตามไปด้วย ผลผลิตมังคุดที่ผลิตได้มากดังกล่าวไม่แน่นอนเสมอไปว่าจะทำให้เกษตรกรชาวสวนได้ผลตอบแทนมากคุ้มค่าตามไปด้วย ต้นทุนการผลิตและคุณภาพของผลิตผลมังคุดยังเป็นตัวแปรที่สำคัญที่จะตัดสินว่าเกษตรกรชาวสวนมังคุดผลิตมังคุดได้มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริงหรือไม่ หากต้นทุนการผลิตสูง ผลผลิตไม่ได้คุณภาพ กล่าวคือ ขนาดผลเล็กกว่า 80 กรัม และหรือผลมังคุดมีผลลาย มีการเกิดเนื้อแก้วหรือยางไหล ก็จะมีผลทำให้ราคาขายมังคุดต่ำ ผลตอบแทนที่เกษตรกรจะได้รับก็ต่ำตามไปด้วย และหากในช่วงเวลาดังกล่าว ผลผลิตมังคุดออกสู่ตลาดในปริมาณมากด้วยแล้ว เกษตรกรชาวสวนมังคุดอาจจะขาดทุน หรือเก็บผลมังคุดจำหน่ายไม่คุ้มค่ากับต้นทุนที่ใช้ในการผลิตก็เป็นได้ ซึ่งโอกาสที่จะเกิดสถานการณ์ที่กล่าวมา มีพบให้เห็นได้อยู่แล้วในทุกฤดูกาลผลิต โครงการชุนชนต้นแบบการผลิตมังคุดคุณภาพจังหวัดจันทบุรี จึงมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่จะพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรผู้ปลูกมังคุดของจังหวัดจันทบุรี มีแนวคิดที่จะผลิตมังคุดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีคุณภาพ โดยใช้เทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะกับสภาพพื้นที่ สภาพตลาดและสภาพครัวเรือน เพื่อให้กระบวนการผลิตมังคุดของเกษตรกรมีภูมิคุ้มกัน มีเสถียรภาพ สามารถรองรับกับสถานการณ์การผลิตที่เปลี่ยนแปลงไปได้ และเพื่อให้การดำเนินงานมีการขยายผลอย่างกว้างขวาง จึงเน้นเข้าไปปฏิบัติงานร่วมกับชุมชนหรือกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่การผลิตที่สำคัญ และเชื่อมโยงให้กลุ่มเกษตรกรเป้าหมายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน นำไปสู่การเกิดเครือข่ายการผลิตมังคุดที่มีคุณภาพ สามารถที่จะถ่ายทอดประสบการณ์และเป็นต้นแบบให้กับการผลิตพืชอื่น ๆ ได้นำไปต่อยอดและใช้ประโยชน์ได้
วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกรชาวสวนมังคุดของจังหวัดจันทบุรี สามารถผลิตมังคุดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีเสถียรภาพ สามารถเป็นต้นแบบในการถ่ายทอดเทคโนโลยี และขยายผลให้เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร หรือชุมชนที่สนใจนำรูปแบบไปปฏิบัติได้
เป้าหมาย
1. เกษตรกรชาวสวนที่ร่วมดำเนินงานสามารถเพิ่มรายได้จากที่เคยได้รับอยู่เดิมไม่ต่ำกว่า 5% มีความพึงพอใจในกระบวนการดำเนินงานโดยเฉพาะเทคโนโลยีการผลิตที่นำไปปรับใช้ไม่ต่ำกว่า 50% ของจำนวนผู้ที่ร่วมดำเนินงาน
2. ได้เครือข่ายผู้ผลิตมังคุดคุณภาพ สามารถเป็นต้นแบบในการถ่ายทอดและขยายผลการดำเนินงานไปสู่เกษตรกรและหรือกลุ่มเกษตรกรที่สนใจต่อไปได้
วิธีดำเนินงาน
1. สำรวจ/รวบรวมข้อมูลกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมังคุดในเขตพื้นที่จังหวัดจันทบุรี เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินงานไม่ต่ำกว่า 10 กลุ่ม
2. เก็บรวบรวมข้อมูลรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย เช่น จำนวนสมาชิก พื้นที่ปลูก ความเป็นมาการก่อตั้งกลุ่ม ฯลฯ เป็นต้น
3. เชิญกลุ่มเกษตรกรเป้าหมายมาร่วมประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์ ความเป็นมา และเป้าหมายของโครงการฯ พร้อมทั้งให้กลุ่มเกษตรเป้าหมายได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการผลิตมังคุดซึ่งกันและกัน และร่วมกันวิเคราะห์โครงสร้างต้นทุนการผลิตมังคุดของกลุ่ม และกำหนดแนวทางการเพิ่มศักยภาพการผลิตมังคุด โดยใช้เทคโนโลยีการผลิตที่เป็นองค์ความรู้ทางวิชาการและประสบการณ์การผลิตของเกษตรกรเป็นเครื่องมือหลักในการนำไปสู่เป้าหมายของโครงการ
4. ประชุม/อบรม/ศึกษาดูงาน ตามแผนการดำเนินงานและแนวทางการดำเนินงานที่กำหนดร่วมกัน เช่น อบรมการเพิ่มมูลค่าผลผลิตโดยการแปรรูปมังคุด วิธีการเก็บตัวอย่างดินด้วยตนเอง การใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์เพื่อใช้ให้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยแปรผลจากผลวิเคราะห์ดินที่ได้ การจัดการเตรียมความพร้อมต้นมังคุดหลังเก็บผลและการจัดการ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ฯลฯ
5. สร้างแปลงต้นแบบการผลิตมังคุดคุณภาพ ตามกระบวนการที่กำหนด โดยให้เกษตรกรที่มีความสนใจใฝ่รู้เป็นผู้ดำเนินงาน อย่างน้อย 5 แปลง เพื่อใช้เป็นที่ศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนประสบการณ์
6. ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการดำเนินงานในส่วนของกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่ม ภายหลังจากมีการทำแปลงต้นแบบ หรือหลังการอบรม/ประชุม ที่มีกิจกรรมหรือข้อสรุปร่วมกันและจำเป็นต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อย 2 ครั้ง
7. สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน พร้อมทั้งจัดทำเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
เวลาและสถานที่
ดำเนินงานระหว่างเดือนเมษายน 2552 - ตุลาคม 2552 ในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดที่เป็นเป้าหมายให้เกษตรกรดูงานแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เช่น ระยอง เป็นต้น
ผู้รับผิดชอบ
นายสมบัติ ตงเต๊า ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี
นายพิศาล หรินทรานนท์ นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ
นายธีรวุฒิ ชุตินันทกุล นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ
คณะทำงานถ่ายทอดเทคโนโลยี ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี
แนะนำ..ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ด้านการเกษตร
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
- จุดเริ่มต้นของการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ด้านการเกษตรภายในศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี นักท่องเที่ยวจะได้รับการบรรยายความรู้ที่ต้องการจากเจ้าหน้าที่ และมีผลิตภัณฑ์ต่างๆ สามารถชม และเลือกซื้อติดมือกลับบ้านได้ นอกจากนี้บริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยวยังประกอบไปด้วย ลานจอดรถ ห้องน้ำชาย-หญิงที่พักรับประทานอาหาร โดยมีพนักงานต้อนรับ คอยอำนวยความสะดวก
เส้นทางเดินชมสวน
- เป็นเส้นทางที่จัดสร้างขึ้นเลียบเลาะไปตามริมคลองหนองเสม็ด ธารน้ำใสที่กำเนิดมาจากเทือกเขาสระบาป เอ่อล้นอ่างเก็บน้ำหนองเสม็ดลงมา ได้จัดแบ่งสวนไม้ผลบริเวณริมคลองหนองเสม็ดนี้เป็นจุดที่นักท่องเที่ยว สามารถสัมผัสกับผลไม้เมืองร้อน เช่น ทุเรียน มังคุด เงาะ ลางสาด และ พืชสกุลระกำ อย่างใกล้ชิด
ศาลาร่มไม้ชายน้ำ
- จุดแวะพักระหว่างการเดินชมสวน ให้นักท่องเที่ยวได้ผ่อนคลาย เป็นศาลาร่มรื่น เงียบสงบ โอบล้อมด้วยสายธารน้ำใสไหลริน และมีน้ำดื่มไว้สำหรับบริการนักท่องเที่ยว
จุดชมวิวอ่างเก็บน้ำหนองเสม็ด
- อ่างเก็บน้ำหนองเสม็ด เป็นแหล่งเก็บกักน้ำ และสงวนพันธุ์สัตว์น้ำของชุมชนตำบลตะปอน ศูนย์ฯ ได้รับอนุญาตจากองค์การบริหารส่วนตำบลตะปอนในการปรับปรุงพื้นที่ให้เป็นสถานที่พักผ่อนที่สวยงาม ศาลาพักผ่อนอีกแห่งหนึ่ง ที่สร้างเหนืออ่างเก็บน้ำหนองเสม็ดทำให้มีอากาศเย็นสบาย แวดล้อมด้วยธรรมชาติที่สวยงาม ผสานกับเสียงน้ำตกแห่งขุนเขาที่ซ่านกระเซ็นให้ได้ยินตลอดเวลา
เส้นทางจักรยานชมสวน
- อีกทางเลือกหนึ่งของการท่องเที่ยวอย่างเพลิดเพลิน นั่นคือ การปั่นจักรยานลัดเลาะ ไปตามเส้นทางที่ร่มรื่น ระยะทางประมาณ 1.9 กิโลเมตร
สวนพรรณไม้หอม
- ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรีได้ดำเนินการสร้างสวนพันธุ์ไม้หอมขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ.2534 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาส เจริญพรรษาครบ 5 รอบของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ปัจจุบันมีพื้นที่ 2.5 ไร่ รวบรวมพันธุ์ไม้หอมไว้ ประมาณ 120 ชนิด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งพันธุกรรมไม้หอมในท้องถิ่น และจากถิ่นอื่นๆ ไว้เผยแพร่ให้ความรู้แก่ผู้สนใจได้ตระหนักถึง คุณค่า และความหลากหลาย ทางชีวภาพ ภายในสวนพันธุ์ไม้หอม มีการออกแบบทางภูมิสถาปัตย์ ให้มีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และการเจริญเติบโตของพันธุ์ไม้หอมแต่ละชนิด และจัดแบ่งพันธุ์ไม้หอม ออกเป็นกลุ่มตามยุคสมัยต่างๆ ได้แก่ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยก่อนสุโขทัย สมัยอยุธยา สมัยกรุงธนบุรี และสมัยกรุงรัตนโกสินทร์