วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552

บทคัดย่อ การจัดการธาตุอาหารทางดินลองกองแบบผสมผสานเพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมีในภาคตะวันออก

การจัดการธาตุอาหารทางดินลองกองแบบผสมผสานเพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมีในภาคตะวันออก
Integrated Soil Nutrient Management to Reduce Fertilizer Use of Longkong
(Aglaia dookkoo Griff.) in Eastern Region.

ศิริพร วรกุลดำรงชัย1/ ประพิศ แสงทอง2/ ภาวนา ลิกขนานนท์2/
Vorakuldamrongchai.S.1/., P. Saengthong2/ and P. Ligkananont2/


Abstract

The integrated soil fertilizer management was conducted on 15 year-old longkong (Aglaia dookkoo Griff.) in Trad province, Eastern region of Thailand, in order to find an appropriate combination of chemical and organic fertilizer in order to reduce the amount of chemical fertilizer. It was a three-year experiment (2006-2008), using RCB with 10 treatments and 8 replications. Treatment 1 was 100% chemical fertilizer 15-15-15. The amount of cow manure or organic compost from durian (2.5-2.5-2.5) were varied (in the ratio of 25,50 and 100%) in Treatment 2-7 in combination with chemical fertilizer and Phosphate solubilizing microorganisms were added in treatment 8-10. There were no significant difference among treatments using integrated organic fertilizer and chemical fertilizer on plant health, floral number, fruit number and yield. The amount of leaf chemical elements of all treatments were within the standard range, except Mg and Fe which were lower than standard. Applying organic fertilizer alone or integrated with chemical fertilizer increased cost of production between 37.95-184.80 baht/tree, depending on the amount of organic fertilizer in each treatment. Nevertheless, it helped reduce the use of chemical fertilizer at least 25% while maintained yield and quality of longkong, improved soil structure and increased soil-microbial activities.

Key words: Longkong (Aglaia dookkoo Griff.), Reduce Fertilizer, Integrated Nutrient Management

บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนาการจัดการธาตุอาหารทางดินลองกองแบบผสมผสาน เพื่อให้ได้รูปแบบและวิธีการใช้ปุ๋ยเคมี และปุ๋ยอินทรีย์แบบผสมผสานเพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมี ดำเนินการทดลองในต้นลองกองอายุ 15 ปี จ.ตราด เป็นระยะเวลา 3 ปี (ปี 2549-2551) วางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 8 ซ้ำ 10 กรรมวิธี โดยกรรมวิธีที่ 1 ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 สัดส่วน 100% ส่วนกรรมวิธี 2-7 ใส่ปุ๋ยขี้วัว หรือปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียนสูตร 2.5-2.5-2.5 ทดแทนปุ๋ยเคมี ในสัดส่วน 25, 50 และ 100% ตามลำดับ ส่วนกรรมวิธีที่ 8-10 เช่นเดียวกับกรรมวิธี 5-7 แต่มีการใส่จุลินทรีย์ละลายฟอสเฟตร่วมกับการใส่ปุ๋ยหมัก ผลการทดลองพบว่า การจัดการปุ๋ยอินทรีย์แบบผสมผสานในกรรมวิธีต่างๆ ทำให้ต้นลองกองมีความสมบูรณ์ต้น ปริมาณดอก ปริมาณผล และคุณภาพผลผลิตไม่แตกต่างกับการใส่ปุ๋ยเคมี ปริมาณธาตุอาหารทางใบลองกองในทุกกรรมวิธีอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ยกเว้น Mg, Fe ที่มีค่าต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ต้นทุนการใส่ปุ๋ยอินทรีย์เพียงอย่างเดียวหรือแบบผสมผสานทางดินถึงแม้จะสูงกว่าการใส่ปุ๋ยเคมี 37.95-184.80 บาท/ต้น โดยต้นทุนปุ๋ยทางดินจะเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนของปุ๋ยอินทรีย์ที่เพิ่มขึ้นในแต่ละกรรมวิธี แต่สามารถช่วยลดการใส่ปุ๋ยเคมีลงได้ไม่น้อยกว่า 25% และทำให้ปริมาณผลผลิตและคุณภาพไม่ลดลง รวมทั้งน่าจะมีส่วนช่วยทำให้โครงสร้างดินและกิจกรรมของจุลินทรีย์ในดินดีขึ้นด้วย

คำสำคัญ : ลองกอง, การจัดการธาตุอาหารแบบผสมผสาน, การลดการใช้ปุ๋ยเคมี


1/ ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ต.ตะปอน อ.ขลุง จ.จันทบุรี 22110
1/ Chanthaburi Horticultural Research Center, Khlung, Chanthaburi , 22110
2/ กลุ่มปฐพีวิทยา สำนักวิจัยและพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

2/ Agricultural Production Sciences Research and Development Office, Chatuchak, Bangkok , 10900

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น